top of page
บานเกล็ด / รางน้ำสำเร็จรูป

บานเกล็ด OK-AERO

วิธีติดตั้ง
1. วัดแบ่งช่องบานเกล็ดตามที่ต้องการ เฉลี่ยให้เท่าๆ กัน แบ่งตัวให้เต็มด้านกว้าง บานเกล็ดจะทับซ้อนกันเล็กน้อยที่ระยะห่างรู 20 ซม.
2. เจาะรูรางบน รางล่างตามที่วัดไว้  ให้จุดหมุนเข้าได้หลวมๆ
3. ติดตั้งรางบนก่อน ให้ท้องรางบนหย่อนจากเฟรมเหล็กกล่องพอที่จะสอดจุดหมุนเข้าไปล็อคโดยไม่หลุดออก  ยึดสกรูด้านข้างเฟรม หัว-ท้าย-กลาง
4. นำรางล่างที่เจาะรูแล้ววางบนเฟรมล่าง ยังไม่ต้องยึด ให้รางล่างวางสนิทอยู่บนเฟรมล่างก่อน
5. นำใบบานเกล็ด Aero มาสอดจุดหมุนเข้ากับรางบน  จุดหมุนด้านล่างให้ตรงรูกับรางล่างจนครบทุกใบ ให้หูเจาะอยู่ในทิศทางเดียวกัน
6. ยกรางล่างขึ้นลอยให้รูของรางล่างขึ้นมาล็อคกับจุดหมุน  ปรับให้ได้ระดับแล้วยึดสกรูด้านข้างเฟรม
7. เจาะรูฉากสะพานชักให้ระยะห่างเท่ากับรูเจาะราง ล่าง-บน
8. ยึดฉากสะพานชักเข้ากับหูบานเกล็ดโดยใช้สกรูตัวผู้-เมีย โดยใส่กาวกันคลายเกลียว  ฉากควรจะอยู่ด้านที่ไม่โดนแสงแดดและฝน

รางน้ำสำเร็จรูป

image.png

รางน้ำสำเร็จรูป  มีขนาดท้องราง 13.5 เซนติเมตร ความสูงด้านหลังตัวติดกับเชิงชายที่ 13 เซนติเมตร ด้านหน้า 11.4 เซนติเมตร  แนะนำใช้ความหนาที่ 0.35 mm. ขึ้นไป  ความยาวลูกค้าสามารถสั่งได้ตามที่ต้องการ (รถขนส่งได้ไม่เกิน 12 เมตร)  มีแผ่นปิดหัว-ท้ายรางน้ำ เจาะรูรางน้ำและใส่ท่อขนาดกว้าง 7 x 10 เซนติเมตร  จำหน่ายพร้อมขายึดรางน้ำและซิลิโคนคุณภาพดี

วิธีติดตั้ง


1. จัดเตรียมพื้นที่ที่จะติดตั้งรางน้ำ ทำการสำรวจสภาพพื้นที่ที่เราจะติดตั้งรางน้ำว่ามีสภาพสมบูรณ์พร้อมติดตั้งหรือไม่ หากไม่พร้อมจะต้องซ่อมแซมก่อน หรือเปลี่ยนที่ติดตั้งรางน้ำใหม่ ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องสำรวจโครงสร้างหลังคาและตรวจดูเชิงชายหรือไม้ปิดนกที่จะติดรางน้ำว่ามีความแข็งแรง ยึดแน่นพอที่จะติดตั้งรางน้ำหรือไม่

2. เมื่อได้รางน้ำสำเร็จรูปที่สั่งแล้วให้นำขารางน้ำไปประกอบเข้ากับตัวรางน้ำ 
โดยเว้นระยะห่างที่ไม่เกิน 1 เมตร (หรือถี่กว่านั้นตามความเหมาะสม) 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                       ตามรูปที่ 2.1

3. นำไปยึดเข้ากับเชิงชาย  เมื่อติดตั้งเรียบร้อยตรวจดูว่าติดตั้งแข็งแรงหรือไม่

 

 

 

 

 

 

 


                                                                                      ตามรูปที่ 3.1

4. ปัดกวาด ทำความสะอาดภายในตัวรางไม่ให้มีเศษเมทัลชีทที่เกิดจาก                                 
การเจาะยึด  เพื่อป้องกันเศษเหล็กเมทัลชีทสะสมและทำให้เกิดสนิม

5. ทดสอบการทำงานของรางน้ำฝน  ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการทดสอบ การทำงานของรางน้ำฝน โดยให้ฉีดน้ำบนหลังคา หากน้ำไหลเป็นปกติก็เป็นอันเรียบร้อย นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบด้วยว่าการติดตั้งรางน้ำนั้นได้ยึดติดกับไม้เชิงชายได้ระดับ โดยไม่มีลักษณะแอ่นงอ  รางน้ำฝนเป็นอุปกรณ์สำคัญในการช่วยให้น้ำที่ไหลจากหลังคา ไหลไปในทิศทางที่ต้องการ ไม่ให้น้ำฝนกระเด็นไปโดนกำแพง หรือจุดที่ต้องการได้ ฉะนั้นวิธีการติดตั้งรางน้ำฝนจึงควรให้ความสำคัญ เพื่อจะได้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

rain-gutter
bottom of page